ที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ
เครื่องคำนวณราคา
ประวัติราคา
การคาดการณ์ราคา
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
คู่มือการซื้อเหรียญ
หมวดหมู่คริปโต
เครื่องคำนวณกำไร
ที่เกี่ยวข้องกับการเทรด
ซื้อ/ขาย
การฝาก/การถอน
Spot
Margin
USDT-M Futures
Coin-M Futures
บอทเทรด
Copy Trading
Earn
Pre-Market
Ethereum (ETH) คืออะไร
ข้อมูลพื้นฐาน Ethereum
Ethereum คือบล็อกเชนรุ่นที่สองที่ช่วยให้สามารถสร้างและใช้งานแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) และ Smart Contract กำเนิดขึ้นในปี 2015 โดย Vitalik Buterin และเป็นที่รู้จักกันดีในการนำ Smart Contract มาสู่โลกบล็อกเชน โดยค่าใช้จ่ายของธุรกรรมและการดำเนินการ Smart Contract ทุกรายการบน Ethereum จะวัดเป็น Gas
ด้วยระบบนิเวศ DApp ที่ใหญ่ที่สุด Ethereum จึงยังทำหน้าที่เป็นแกนหลักสำหรับโซลูชัน Layer-2 มากมาย เช่น Arbitrum และ Polygon ซึ่งให้การประมวลผลธุรกรรมที่รวดเร็วและถูกกว่า
Ethereum (ETH) คืออะไร
Ethereum คือคริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าตามราคาตลาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก Bitcoin ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์ชาวรัสเซีย-แคนาดา และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กรกฎาคม 2015 โดย Ether ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีดั้งเดิมของ Ethereum ทำหน้าที่ขับเคลื่อนระบบนิเวศด้วยการเปิดใช้งานธุรกรรม การดำเนินการ Smart Contract และการชดเชย Node สำหรับทรัพยากรการประมวลผล ส่วน Gwei เป็นหน่วยที่เล็กกว่าของ Ether โดย 1 Gwei มีค่าเท่ากับ 0.000000001 ETH (หนึ่งส่วนพันล้านของ ETH)
Ethereum เปิดตัวผ่าน Initial Coin Offering (ICO) ระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคมถึง 2 กันยายน 2014 ในช่วง ICO ผู้เข้าร่วมสามารถซื้อ Ether (ETH) ด้วย Bitcoin (BTC) ในอัตรา 2,000 ETH ต่อ BTC หรือประมาณ $0.31 ต่อ ETH ICO ระดมทุนได้กว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นหนึ่งในอีเวนต์ระดมทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกคริปโทเคอร์เรนซี โดยตั้งแต่ที่ก่อตั้งขึ้น Ethereum ได้มอบเครือข่ายแบบกระจายศูนย์สำหรับนักพัฒนาและผู้ใช้เพื่อสร้างและโต้ตอบกับแอปพลิเคชันบนบล็อกเชนโดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางแบบรวมศูนย์
ใครเป็นผู้ก่อตั้งบล็อกเชน Ethereum
Ethereum มีผู้ร่วมก่อตั้ง 8 คน ดังนี้
- Vitalik Buterin – ผู้มีวิสัยทัศน์คนแรกที่เป็นผู้เขียน Whitepaper ของ Ethereum
- Gavin Wood – เขียน Yellow Paper และสร้างภาษาโปรแกรมมิ่ง Solidity
- Joseph Lubin – ผู้ก่อตั้ง ConsenSys ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีบล็อกเชน
- Anthony Di Iorio – นักลงทุนรายแรกๆ ใน Ethereum
- Mihai Alisie – ช่วยก่อตั้งมูลนิธิ Ethereum
- Amir Chetrit – ผู้สนับสนุนในช่วงแรกซึ่งต่อมาได้ถอนตัวออกจากโปรเจกต์
- Charles Hoskinson – ผู้ก่อตั้งร่วมของ Ethereum ซึ่งต่อมาได้ก่อตั้งบล็อกเชน Cardano
- Jeffrey Wilcke – นักพัฒนาหลักเบื้องหลัง Go Ethereum (Geth)
ณ ปี 2024 Vitalik Buterin เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเพียงคนเดียวที่ยังคงทำงานกับ Ethereum อยู่ ส่วนคนที่เหลือได้ย้ายไปเป็นผู้นำหรือสร้างธุรกิจบล็อกเชนใหม่ๆ
ประวัติความเป็นมาของ Ethereum
2013: Vitalik Buterin ผู้ก่อตั้งร่วมของ Bitcoin Magazine เสนอ Ethereum โดยเขาได้จินตนาการถึงแพลตฟอร์มบล็อกเชนสำหรับแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) ที่ขับเคลื่อนด้วย Smart Contract
2014: Ethereum ได้รับการประกาศเปิดตัวที่งาน North American Bitcoin Conference โดย Initial Coin Offering (ICO) ระดมทุนได้กว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2015: Ethereum เปิดตัวเวอร์ชันใช้งานจริงเป็นครั้งแรกคือ Frontier เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง DApp ได้
2016: Ethereum ได้รับการอัปเกรดครั้งแรกที่ชื่อ Homestead และเผชิญกับการแฮ็ก DAO ส่งผลให้เกิด Hard Fork ที่แบ่งเครือข่ายออกเป็น Ethereum (ETH) และ Ethereum Classic (ETC)
2017: การอัปเกรด Byzantium ปรับปรุงความเป็นส่วนตัวและความสามารถในการขยายการรองรับด้วยข้อเสนอการปรับปรุง Ethereum (Ethereum Improvement Proposal: EIP) 9 ข้อ
2019: การอัปเกรด Constantinople และ Istanbul ปรับต้นทุนค่า Gas ให้เหมาะสม เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกัน และเพิ่มประสิทธิภาพ Zero-Knowledge Proof
2020: Ethereum เปิดตัว Beacon Chain ซึ่งนำเสนอ Proof of Stake (PoS) เป็นส่วนหนึ่งของ Ethereum 2.0 Roadmap
2021: การอัปเกรด Berlin และ London Hard Fork ปรับค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมและนำเสนอ EIP-1559 ซึ่ง Burn ค่าธรรมเนียมธุรกรรมไปส่วนหนึ่ง
2022: Ethereum เปลี่ยนไปใช้ PoS ด้วย The Merge ในวันที่ 15 กันยายน ช่วยลดการใช้พลังงานลง ~99.95%
2023: การอัปเกรด Shanghai และ Capella ช่วยให้สามารถถอน ETH ที่ Stake ไว้และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ PoS
2024: Ethereum ยังคงมุ่งเน้นไปที่โซลูชันการขยายการรองรับ เช่น Sharding เพื่อปรับปรุงความเร็วในการทำธุรกรรมและลดต้นทุน
Ethereum ทำงานอย่างไร
Ethereum คือแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบโอเพนซอร์สและกระจายศูนย์ ซึ่งนักพัฒนาสามารถสร้างและดำเนินการ Smart Contract ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ดำเนินการได้ด้วยตนเองที่ขับเคลื่อนแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) ที่หลากหลาย โดยดำเนินการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก (Node) ที่ประมวลผลธุรกรรมและบันทึกไว้บนบล็อกเชน เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและความโปร่งใส Ether (ETH) ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีดั้งเดิมของ Ethereum ใช้ในการจ่ายค่าธรรมเนียม Gas สำหรับธุรกรรม, ดำเนินการ Smart Contract และสนับสนุนเครือข่ายผ่านการ Stake
หลังจากที่ Ethereum เปลี่ยนมาใช้ Proof of Stake (PoS) ในปี 2022 Validator ก็ได้เข้ามาแทนที่นักขุดเพื่อรักษาความปลอดภัยเครือข่าย หากต้องการเป็น Validator คุณจำเป็นต้อง Stake 32 ETH ซึ่งจะถูกล็อกไว้เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเครือข่าย โดย Validator จะได้รับรางวัลจูงใจจากการยืนยันและเพิ่มบล็อกใหม่เป็นการตอบแทน
สิ่งใดที่ทำให้ Ethereum มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
Ethereum ได้กำหนดนิยามความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีบล็อกเชนขึ้นมาใหม่ ด้วยโทเค็นมากกว่า 1 ล้านโทเค็นที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน และเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐที่ไหลผ่านแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) โดยรองรับโทเค็น ERC-20 ต่างๆ เช่น USDT, LINK และ BNB ซึ่งมีหลายโทเค็นที่ถือได้ว่าเป็นคริปโทเคอร์เรนซีชั้นนำตามมูลค่าตามราคาตลาด นอกจากนี้ Ethereum ยังช่วยขับเคลื่อนตลาด Non-Fungible Token (NFT) ที่กำลังเติบโต ช่วยให้เกิดสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในด้านเกม ศิลปะ และอื่นๆ อีกมากมาย การอัปเกรด EIP-1559 ได้เพิ่มองค์ประกอบภาวะเงินฝืด (Deflationary) ให้กับระบบนิเวศของตนด้วยการ Burn ค่าธรรมเนียม Gas ส่วนหนึ่ง ส่งผลให้โมเดลเศรษฐกิจยิ่งแข็งแกร่งขึ้นไปอีก
Ethereum ยังคงเป็นผู้นำในการกำหนดอนาคตของบล็อกเชน ด้วยความสนใจทั่วโลกที่สะท้อนให้เห็นในคู่เทรดอย่าง ETH เป็น USD และ ETH เป็น EUR
การอัปเกรด Ethereum ถัดไปคืออะไร
การอัปเกรด Ethereum 2.0 คืออะไร
Ethereum 2.0 คือการอัปเกรดครั้งสำคัญของบล็อกเชน Ethereum โดยแบ่งการเปิดตัวเป็นเฟส เริ่มด้วย Beacon Chain ในเดือนธันวาคม 2020 การเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นมากที่สุดคือการเปลี่ยนจาก Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) ใน The Merge ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน 2022 การเปลี่ยนแปลงนี้ช่วยลดการใช้พลังงานและปรับปรุงความปลอดภัยของเครือข่ายได้อย่างมาก
การอัปเกรด Pectra ของ Ethereum
การอัปเกรด Ethereum ครั้งใหญ่ครั้งต่อไปคือ Prague-Electra (Pectra) มีกำหนดในช่วงต้นปี 2025 โดยจะช่วยยกระดับความสามารถในการขยายการรองรับ ประสิทธิภาพ และความสามารถในการนำไปใช้งานผ่านฟีเจอร์หลักๆ อย่าง ธุรกรรมแบบเป็นชุด (EIP-3074) การเพิ่มขีดจำกัดการ Stake (EIP-7251) และลดพื้นที่จัดเก็บ Node ผ่าน Verkle Trees (EIP-2935) เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการอัปเกรด Pectra และการช่วยทำให้คุณได้รับประสบการณ์ Ethereum ที่ดีขึ้น
การอัปเกรด Ethereum ส่งผลต่อราคา ETH หรือไม่
การอัปเกรด Ethereum อาจส่งผลต่อราคาของ ETH แต่ผลก็ไม่ได้ตรงไปตรงมาเสมอไป การอัปเกรดที่สำคัญอย่าง The Merge ในปี 2022 มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความสนใจในตลาด และอาจนำไปสู่ความผันผวนของราคา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในราคาแบบเรียลไทม์ของ Ethereum การอัปเกรดเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงความสามารถในการขยายการรองรับ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพด้านพลังงานของเครือข่าย ซึ่งสามารถมองได้ว่าเป็นการพัฒนาเชิงบวกสำหรับมุมมองระยะยาวของ Ethereum อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของราคานั้นยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น สภาวะตลาดโดยรวมและความเชื่อมั่นของนักลงทุน ดังนั้น ผลกระทบของการอัปเกรดต่อราคา ETH จึงไม่สามารถคาดเดาได้เสมอไป
เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ นักเทรดจำนวนมากติดตามราคาปัจจุบันของ ETH ควบคู่ไปกับกราฟ Ethereum เพื่อให้เข้าใจความผันผวนในระยะสั้นและพฤติกรรมของตลาดได้ดีขึ้น
กรณีการนำไปใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับ Ethereum มีอะไรบ้าง
Ethereum ทำให้สามารถมีการนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลายด้วยความยืดหยุ่นและลักษณะกระจายศูนย์:
- Decentralized Finance (DeFi): บริการทางการเงินที่ไม่มีตัวกลาง (เช่น การให้กู้ยืม การแลกเปลี่ยน)
- Smart Contract: ข้อตกลงอัตโนมัติในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ และกฎหมาย
- Non-Fungible Token (NFT): ความเป็นเจ้าแบบดิจิทัลในงานศิลปะ ของสะสม และสื่อต่างๆ
- องค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ (DAO): องค์กรที่กำกับดูแลโดยชุมชน
- การจัดการห่วงโซ่อุปทาน: การติดตามสินค้าและการยืนยันความเป็นของแท้ (Authenticity) อย่างโปร่งใส
- เกม: โมเดล Play to Earn (P2E) และสินทรัพย์ที่ผ่านการ Tokenize ในเกม
- การยืนยันตัวตน: การจัดการข้อมูลตัวตนดิจิทัลและข้อมูลส่วนบุคคลที่ปลอดภัย
ฉันสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดของ Ethereum ได้จากที่ไหน
หากคุณกำลังมองหาข้อมูลอัปเดตของ Ethereum และข่าวสารคริปโตล่าสุด Bitget ก็ช่วยคุณได้ Bitget News ช่วยให้คุณทราบข้อมูลอัปเดตแบบเรียลไทม์ เทรนด์ตลาด และเหตุการณ์ล่าสุดทั้งหมดในโลกคริปโตอยู่เสมอ
พร้อมที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมแล้วใช่ไหม Bitget Academy เป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบในการให้คำแนะนำที่เรียบง่าย เคล็ดลับการเทรด และข้อมูลเชิงลึกสำหรับทั้งนักเทรดมือใหม่และนักเทรดที่มีประสบการณ์
ก้าวต่อไปของ Ethereum จะเป็นอย่างไร
เมื่อมองไปข้างหน้า การพัฒนา Ethereum จะยังคงดำเนินต่อไปโดยมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความสามารถในการขยายการรองรับ ความปลอดภัย และการกระจายศูนย์:
- Sharding – การอัปเดตหลักที่จะแบ่ง Ethereum ออกเป็นชิ้นเล็กๆ (Shard) เพื่อประมวลผลธุรกรรมแบบคู่ขนาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วและลดค่าธรรมเนียมลง
- โซลูชัน Layer-2 – เทคโนโลยีอย่าง Optimism และ Arbitrum จะช่วยลดต้นทุนธุรกรรมและปรับปรุงความสามารถในการขยายการรองรับต่อไป
- EIP-4844 (Proto-Danksharding) – จะเป็นการแนะนำประเภทธุรกรรมแบบใหม่เพื่อลดค่าธรรมเนียม Gas และเพิ่มความพร้อมใช้งานของข้อมูลเพิ่มเติม
- การปรับปรุง EVM – การยกระดับ Ethereum Virtual Machine จะช่วยเพิ่มผลการดำเนินงานและรองรับแอปพลิเคชันที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
- การปรับปรุงประสิทธิภาพ PoS – การปรับปรุงระบบ Proof of Stake ของ Ethereum อย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มความปลอดภัย การกระจายศูนย์ และรางวัลจูงใจในการ Stake
เริ่มลงทุนโดยการไปที่หน้าการเทรด Ethereum บน Bitget ราคา Ethereum มีการอัปเดตและดูได้แบบเรียลไทม์บน Bitget
อุปทานและเศรษฐศาสตร์ของโทเค็น ETH
ลิงก์
โอกาสในการพัฒนาและมูลค่าในอนาคตของ ETH เป็นเช่นไร
มูลค่าตลาดของ ETH ปัจจุบันอยู่ที่ $421.94B และอันดับในตลาดอยู่ที่ #2 มูลค่าของ ETH ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากตลาด เมื่อตลาดกระทิงมาถึง มูลค่าตลาดของ ETH ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยิ่งไปกว่านั้น หาก ETH สามารถมีบทบาทมากขึ้นได้ในแอปพลิเคชันที่ใช้งานได้จริง เช่น Ethereum Builder ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ ETH ได้อย่างเต็มที่ จับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับธุรกิจมากขึ้น และเพิ่มฐานผู้ใช้ มูลค่าในระยะยาวของ ETH ก็จะยกระดับขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ